EUR/USD: ภาวะเงินเฟ้อต่ำกดดันดอลลาร์
- เหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างฉับพลันนั้นเป็นการประกาศสถิติเงินเฟ้อของผู้บริโภคในสหัรฐฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ตัวเลขจริงนั้นเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาดโดยสมบูรณ์ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายปีลดลงมายังระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 ในเดือนธันวาคม จาก 7.1% เหลือ 6.5% และดัชนีที่ไม่รวมสินค้าประเภทอาหารและพลังงานลดลงจาก 6.0% เหลือ 5.7% กล่าวคืออัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัวหกเดือนติดต่อกัน และดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานก็ลดลงมาเป็นเวลาสามเดือนติดต่อกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้ต้องดำเนินการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินในปัจจุบันของธนาคารเฟด
ผู้เล่นในตลาดเชื่อมั่นมากว่า อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 25 จุดพื้นฐาน (bp) ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ของคณะกรรมการ FOMC (คณะกรรมการกำกับนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ) โดยเฉพาะ Michelle Bowman กรรมการบริหาร และ May Deli ประธานธนาคารเฟดสาขาซานฟรานซิสโกกล่าวถึงเรื่องนี้ โดย Patrick Harker ประธานธนาคารเฟดได้ออกจากค่ายนโยบายสายเหยี่ยวเช่นกัน พร้อมกล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยควรขึ้นเพียง 25 จุด
Jerome Powell ประธานธนาคารเฟดได้กล่าวไปเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้าว่า ธนาคารฯ อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงสุดไปจนกว่าจะมั่นใจว่า ภาวะเงินเฟ้อลดลงจนเป็นแนวโน้มที่ยั่งยืนจริง เขามองว่าอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานอาจมีการปรับขึ้นเป็น 5.1% ในปี 2023 และคงอยู่ในระดับสูงไปจนถึงปี 2024 อย่างไรก็ดี สถิติมหภาคล่าสุด รวมถึงสถิติเงินเฟ้อ ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ และตลาดแรงงานชี้ว่า ดอกเบี้ยสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 4.75% นอกจากนี้อาจมีการลดลงเป็น 4.5% ภายในสิ้นปี 2023
ด้วยการวิเคราะห์คาดการณ์เหล่านี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงอ่อนค่าลงเทียบกับสกุลเงินของกลุ่มประเทศ G10 ทั้งหมด ดัชนีดอลลาร์ DXY ทำระดับต่ำสุดของเดือนมิถุนายน 2022 ลงมาที่ 102.08 (เดิมดอลลาร์ไต่ขึ้นมาเหนือ 114.00 ภายในปลายเดือนกันยายน) ผลตอบแทนของพันธบัตรชุด 10 ปี ลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบเดือนที่ 3.42% ในขณะที่ EUR/USD พุ่งขึ้นเป็น 1.0867 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายนล่าสุด
ค่าส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตรชุดสิบปีของสหรัฐฯ และเยอรมนีอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยมีกลุ่มประเทศยุโรปไม่กี่ประเทศที่ค่าส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนดังกล่าวลดลง จึงช่วยบ่งชี้ว่ามีโอกาสน้อยลงที่เศรษฐกิจยุโรปจะตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง อีกทั้ง ฤดูหนาวในยุโรปปีนี้ค่อนข้างอบอุ่น และราคาน้ำมันปรับลดลงถึงแม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย และเรื่องนี้ก็ส่งแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์เช่นกัน
จีนสามารถช่วยสนับสนุนดอลลาร์ได้ ตัวเลขคาดการณ์หลายแหล่งชี้ว่า การเติบโตของ GDP จีนอาจขยับถึง 4.8–5.0% หรืออาจสูงกว่าในปี 2023 กิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวจะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกขึ้นอีก 1.0-1.2% ซึ่งจะเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้บริหารธนาคารเฟดคงนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดต่อไปได้ แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นเรื่องของอนาคต ในเวลานี้ตลาดกำลังรอการประชุมครั้งถัดไปของคณะกรรมการ FOMC ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และจะรอฟังคำแถลงจากประธานธนาคารฯ เรื่องผลลัพธ์การประชุม
EUR/USD ปิดตลาดในสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.0833 โดยนักวิเคราะห์ 20% คาดว่ายูโรจะแข็งค่าขึ้นต่อไปและราคาคู่นี้จะขยับขึ้น 50% ซึ่งดอลลาร์น่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วน ส่วนผู้เชี่ยวชาญ 30% ที่เหลือไม่เก็งสถานการณ์ทั้งสองรูปแบบ ภาพรวมในหมู่อินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 นั้นแตกต่างออกไป โดยทั้งหมด 100% ให้สัญญาณสีเขียว แต่ออสซิลเลเตอร์ 25% อยู่ในโซน overbought (แรงซื้อมากเกินไป) โดยมีแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 1.0800 จากนั้นจึงเป็นระดับและโซนที่ 1.0740-1.0775, 1.0700, 1.0620-1.0680, 1.0560 และ 1.0480-1.0500 ด้านฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.0865, 1.0935, 1.0985-1.1010, 1.1130 หลังจากนั้นพวกเขาจะพยายามยืนปักหลักในกรอบ 1.1260-1.1360 ให้สำเร็จ
ในสัปดาห์หน้านี้ นักเทรดควรตระหนักว่าวันจันทร์จะเป็นวันหยุด Martin Luther King Day ของสหรัฐฯ ในปฏิทินกำกับกิจกรรมในวันที่ 17 มกราคม ซึ่งจะมีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ZEW) ในเยอรมนี ส่วนสถิติราคาผู้บริโภคของยูโรโซนและดัชนีค้าปลีกสหรัฐฯ จะประกาศในวันพุธที่ 18 มกราคม และในวันเดียวกันนั้นจะมีการประกาศดัชนีราคาผู้ผลิตอเมริกันประจำเดือนธันวาคม (PPI)
GBP/USD: เซอร์ไพรส์จาก GDP สหราชอาณาจักร
- GBP/USD ฉวยโอกาสจากแรงกดดันต่อดอลลาร์ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม โดยราคาขยับขึ้นมายังระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมที่ 1.2246 ด้าน GDP อังกฤษนำมาซึ่งเซอร์ไพรส์ที่น่ายินดีให้กับฝั่งกระทิงในวันถัดมาคือวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม ซึ่งผลปรากฏว่าเศรษฐกิจประเทศขยายตัวขึ้น 0.1% ในรอบเดือนท่ามกลางความคาดหวังว่าจะหดตัวลง 0.3% อย่างไรก็ดี สถิติรายปีชี้ว่า GDP ต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้าเป็นอย่างมากที่ 0.2% จาก 1.5% เมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้า ผลก็คือ ราคาปิดท้ายห้าวันทำการต่ำกว่าระดับสูงสุดในกรอบเล็กน้อยที่ระดับ 1.2234
วันสำคัญสำหรับเงินปอนด์อาจจะเป็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ซึ่งจะมีการจัดการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในขณะที่นักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารเฟดจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับกันนั้นธนาคารกลางอังกฤษจะยังคงเดินหน้าคุมเข้มนโยบายทางการเงินต่อไป ซึ่งมีการทำนายว่าอาจขึ้นดอกเบี้ยจากระดับปัจจุบันที่ 3.5% เป็น 4.5% ภายในฤดูร้อน ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนต่อเงินปอนด์
สำหรับในระยะสั้น ในที่นี้การคาดการณ์ระยะกลางของ GBP/USD ดูไม่แน่นอนมากที่สุด โดยมีผู้เชี่ยวชาญ 10% เห็นด้วยกับแนวโน้มกระทิง 25% เห็นด้วยกับแนวโน้มตลาดหมี และส่วนใหญ่ (65%) มีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 90% ที่ให้สัญญาณสีเขียว ซึ่งอินดิเคเตอร์จำนวนหนึ่งในสามชี้ว่า ราคาอยู่ในโซน overbought ด้าน 10% ที่เหลือให้สีเทากลาง ส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% อยู่ฝั่งสีเขียว ระดับแนวรับและโซนแนวรับของคู่นี้อยู่ที่ 1.2200-1.2210, 1.2145, 1.2085-1.2115, 1.2025, 1.1960, 1.1900, 1.1800-1.1840 ในกรณีที่ราคาขยับขึ้นทิศเหนือ จะต้องเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.2250-1.2270, 1.2330-1.2345, 1.2425-1.2450 และ 1.2575-1.2610, 1.2700 และ 1.2750
สำหรับพัฒนาการของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เราอาจเน้นวันที่ 17 มกราคม ซึ่งเราจะได้ทราบถึงภาพรวมในตลาดแรงงานของประเทศ ส่วนตัวชี้วัดสภาวะเงินเฟ้อที่สำคัญอย่างดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะประกาศในวันเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางอังกฤษในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน สถิติค้าปลีกของสหราชอาณาจักรประจำเดือนธันวาคมจะเผยแพร่ในช่วงปลายสัปดาห์เช่นกันคือวันศุกร์ที่ 20 มกราคม ซึ่งคาดว่าสถิติจะขยับขึ้น 0.4% จากที่เคยลดลง 0.4% ในเดือนพฤศจิกายนเนื่องด้วยกระแสช่วงก่อนวันคริสต์มาส
USD/JPY: เราควรคาดหวังข่าวเซอร์ไพรส์ใด ๆ จากธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือไม่
- เงินเยนปรากฏว่าเป็นที่โปรดปรานในสัปดาห์นี้ และแม้แต่เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาก็ยังคงเป็นแรงกดดันต่อดอลลาร์ ทำให้คู่นี้ทำระดับต่ำสุดที่บริเวณ 127.45 และปิดท้ายสัปดาห์เหนือกว่าระดับดังกล่าวเล็กน้อยที่ 127.85
เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้? ประการแรกก็คือ เงินเยนแข็งค่าขึ้นท่ามกลางดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง และผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลง (ส่วนต่างของพันธบัตรสหรัฐฯ/ญี่ปุ่นลดลงทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2022) ในฐานะค่าเงินที่อ่อนไหวที่สุดต่อพันธบัตรรัฐบาล เงินเยนแข็งค่าขึ้นมา 2.5% เทียบกับดอลลาร์ และประการที่สองคืองานแถลงข่าว Yomiuri Shimbun สำนักพิมพ์จากญี่ปุ่นอ้างอิงแหล่งข่าวลับว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) วางแผนที่จะหารือเรื่องแนวทางการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายสุดโต่ง และพิจารณาปรับมาตรการการซื้อพันธบัตรเพื่อ “ลดผลกระทบเชิงลบ” ในวันที่ 17-18 มกราคมนี้ อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะมีการปรับเปลี่ยนท่าทีอื่น ๆ จากธนาคารกลางอีกเช่นกัน
ธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นธนาคารกลางขนาดใหญ่อันดับล่าสุดที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับติดลบที่ -0.1% เราเคยเขียนไว้แล้วก่อนหน้านี้ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างสุดโต่งในนโยบายทางการเงินอาจเกิดขึ้นหลังวันที่ 8 เมษายน ซึ่งจะเป็นวันที่ Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่นครบวาระการดำรงตำแหน่ง และอาจถูกแทนที่ด้วยผู้สมัครคนใหม่ที่มีท่าทีเข้มงวดมากกว่า และในเวลานี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดที่ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg เชื่อว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะไม่เปลี่ยนแปลงมาตรการหลักในนโยบายในสัปดาห์หน้า แต่จะจำกัดอยู่แค่การหารือร่วมกันเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถาม 38% เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนหรือเดือนมิถุนายน
แน่นอนว่า เราจะให้การคาดการณ์ที่แม่นยำมากขึ้นได้หลังการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นประจำเดือนมกราคมจัดขึ้นแล้วเท่านั้น ณ ขณะนี้ ความเห็นของนักวิเคราะห์ต่ออนาคตอันใกล้มีดังนี้: นักวิเคราะห์ 50% โหวตว่าราคาจะปรับฐานขึ้นทิศเหนือ และ 50% ปฏิเสธในการให้ความเห็น ส่วนจำนวนเสียงโหวตแนวโน้มขาลงอยู่ที่ 0 ในครั้งนี้ ด้านอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ให้ภาพที่สะท้อนการวิเคราะห์คู่ GBP/USD ทางด้านออสซิลเลเตอร์มี 90% ที่ให้สัญญาณสีแดง ซึ่งหนึ่งในสามให้สัญญาณว่าราคามีแรงขายมากเกินไป และ 10% ให้สัญญาณเป็นสีเทากลาง อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% อยู่ฝั่งสีแดง ด้านระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดตั้งอยู่ในโซน 127.00-127.45 ตามมาด้วยระดับและโซนคือ 126.35-126.55, 125.00, 121.65-121.85 สำหรับโซนและระดับแนวต้านในครั้งนี้ ได้แก่ 128.00-128.25, 129.60-130.00, 131.25-131.70, 132.85, 133.60, 134.40 และจากนั้นคือ 137.50
ในส่วนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ นอกเหนือจากการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นและการตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่พูดถึงไปแล้ว ตลาดจะให้ความสนใจกับการแถลงข่าวและความเห็นของผู้บริหารธนาคารฯ ต่อนโยบายทางการเงินของญี่ปุ่น
คริปโตเคอเรนซี: น้ำแข็งละลายหรือฤดูใบไม้ผลิคริปโต?
- BTC/USD ขยับกลับมาที่บริเวณ $18,500-20,000 อีกครั้ง โซนนี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และกลายเป็นแนวต้านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน คริปโตคู่นี้เคยเทรดในกรอบดังกล่าวในช่วงเดือนธันวาคม 2017 เช่นกัน หลังจากนั้นก็ตามมาด้วยฤดูหนาวคริปโตที่ยืดเยื้อยาวนาน บิทคอยน์กลับมายังราคาที่เดิมได้ในเวลาสามปีถัดมาในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2020 ราคาที่ขยับขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นของการทะยานขึ้นของตลาดกระทิงที่ทรงพลังในตอนนั้น บิทคอยน์ทำราคาขึ้นถึง 3.5 เท่าในเวลาไม่ถึงหกเดือน โดยขยับถึง $64,750 เมื่อเดือนเมษายน 2021 ตามมาด้วยการทรุดตัวลงอีกครั้งหนึ่ง
บิทคอยน์จะมีพฤติกรรมอย่างไรในครั้งนี้ จะทรุดลงเหมือนในปี 2017 หรือจะทะยานขึ้นเหมือนในปี 2020? นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิคริปโตหรือเป็นแค่น้ำแข็งละลายลงชั่วครู่? ไม่มีใครสามารถตอบได้ แต่เป็นไปได้ว่าราคาที่ขยับขึ้นในขณะนี้ไม่ใช่เพราะทองคำที่แข็งค่าขึ้น แต่เป็นเพราะดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงมาเป็นเวลา 16 สัปดาห์ติดต่อกัน บิทคอยน์ได้รับแรงสนับสนุนที่สำคัญจากการประกาศสถิติ CPI ของสหรัฐฯ ส่งผลให้เสียงของผู้สนับสนุนบิทคอยน์ดูมีความเชื่อมั่นและเสียงดังมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ชำระบัญชีของแพลตฟอร์ม FTX ได้ตรวจพบทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องมูลค่า $5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะถูกนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าของสินเชื่อส่วนหนึ่ง นักวิเคราะห์บางรายมองว่า ข่าวนี้รวมถึงตัวเลข CPI ที่ลดลงอาจทำให้ตลาดคริปโตไม่ต้องกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับภาพรวมทางเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งยังคงเป็นแนวโน้มตลาดหมีอยู่
Dante Disparte ประธานด้านการพัฒนายุทธศาสตร์จาก Circle เชื่อว่า แม้ว่าจะถึงยุคน้ำแข็งปี 2022 สินทรัพย์ดิจิทัลและบล็อกเชนยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญของเศรษฐกิจ ธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่หลายแห่งยังคงรองรับคริปโตเคอเรนซีเข้าเป็นผลิตภัณฑ์ของตนเอง ในส่วนของการล้มละลาย ผู้ให้บริการคริปโตหลายรายและการล่มสลายลงของตลาดแลกเปลี่ยน FTX เหตุการณ์เหล่านี้ Disparte มองว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม เพราะมันเป็นการสร้างรากฐานสำหรับการลงทุนที่มีความรับผิดชอบและเข้าถึงได้มากขึ้น
นักวิเคราะห์คาดว่า แรงกดดันของหน่วยงานรัฐต่ออุตสาหกรรมคริปโตจะเพิ่มขึ้นหลายประเทศในปีที่จะถึงนี้ กฎหมายที่รอมานานอย่าง MiCA (Markets in Crypto Assets Regulation หรือตลาดในระเบียบสินทรัพย์คริปโต) จะบังคับใช้ โดยมีแนวโน้มสูงที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะต้องดำเนินการมาตรการที่สำคัญหลายชุดในทิศทางนี้เช่นกัน
อีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ให้มุมมองเชิงบวกคือ Carol Alexander ศาสตราจารย์ด้านการเงินจาก University of Sussex เธอเคยคาดการณ์ไว้ว่า BTC จะขยับลงมาที่ $10,000 ในปี 2022 ในบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ก็ถือว่าใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม นักการเงินท่านนี้ในครั้งนี้ทำนายว่า บิทคอยน์จะขยับถึง $50,000 ในปี 2023 เธอเชื่อว่าปัจจัยกระตุ้นจะเป็นการไหลเข้ามาของ “โดมิโน่” เพิ่มเติมที่ล่มสลายลงหลังจากการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ FTX “2023 จะเป็นตลาดกระทิงที่จัดการได้ ไม่ใช่ฟองสบู่ เราจะไม่เห็นราคากระโดดขึ้นเหมือนเมื่อก่อน แต่เราจะได้เห็นราคาทำแนวโน้มคงที่เป็นเวลาหนึ่งหรือสองเดือน ค่อย ๆ ขึ้นเป็นระยะ ๆ ในกรอบที่จำกัด และบางทีอาจมีช่วงที่ทรุดตัวลงไม่กี่ครั้ง”
Bill Miller นักลงทุนชาวอเมริกันและผู้บริหารกองทุนยังคงปกป้องบิทคอยน์ เขาเชื่อว่ามันเป็นเรื่องผิดที่จะโยง BTC กับเรื่องการล้มละลายของบริษัทคริปโต เช่น FTX และ Celsius เขาเน้นย้ำว่า ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นองค์กรศูนย์กลาง ซึ่งไม่ควรสับสนกับเครือข่ายบิทคอยน์ที่กระจายศูนย์ นอกจากนี้ Miller ยังแนะนำให้ทุกคนต้องไม่สับสนระหว่างความผันผวนกับมูลค่า โดยกล่าวว่าราคาบิทคอยน์จะขยับขึ้นภายในสิ้นปีนี้
Alistair Milne ผู้อำนวยการด้านข้อมูลของกองทุน Altana Digital Currency Fund กล่าวว่า “เราน่าจะได้เห็นบิทคอยน์ที่อย่างน้อย $45,000 ภายในสิ้นปี 2023” อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า “หากธนาคารกลางตัดสินใจที่จะปรับเป้าหมายเงินเฟ้อให้สูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย สินทรัพย์ที่จับต้องได้อาจกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง” ในส่วนของภาพรวมในระยะยาว Milne เชื่อว่า BTC อาจขยับขึ้นถึง $150,000-300,000 ภายในสิ้นปี 2024 “และนี่อาจเป็นจุดสูงสุดของโอกาสสำหรับกระทิง”
Tim Draper นักระดมทุนรุ่นที่สามและผู้ก่อตั้งบริษั Draper Fisher Jurvetson คาดหวังกับปี 2024 เช่นกัน เขาเชื่อว่า Halving ที่น่าจะเกิดขึ้นในปีนี้จะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาบิทคอยน์ ซึ่งราคาจะขยับถึง $250,000 ในที่สุด
ผู้เชี่ยวชาญอีกหนึ่งท่านที่ขึ้นรถไฟขบวนกระทิงคือ Dave the Wave นักวิเคราะห์คริปโตซึ่งมีชื่อเสียงจากที่เขาเคยทำนายการทรุดลงของราคาบิทคอยน์ในปี 2021 เชื่อว่า เหรียญนี้กำลังอยู่บนเส้นทางที่จะตัดทะลุ “แนวต้านทแยงมุมในระยะยาว” เขามีความเห็นว่า “การเคลื่อนที่เชิงเทคนิคภายในเดือนหน้าหรือสองเดือนหน้านี้อาจเพียงพอที่จะฝ่าแนวต้านได้” Dave the Wave เคยพูดไว้ไม่นานมานี้ว่า โมเดลเส้นโค้งการเติบโตแบบลอกอริทึม (Logarithmic Growth Curve - LGC) ชี้ว่าบิทคอยน์อาจขยับขึ้นถึง $160,000 ภายในเดือนมกราคม 2025
Eric Wall ผู้อำนวยการด้านการลงทุนเฮดจ์ฟันด์คริปโต Arcane Assets ให้ตัวเลขคาดการณ์ที่ต่ำกว่ามาก ผู้เชี่ยวชาญรายนี้เชื่อว่าราคาบิทคอยน์อาจขึ้นสูงกว่า $30,000 ในปีที่จะถึงนี้ โดย Eric Wall มักอ้างอิงความเห็นของเขาจากกราฟราคาที่เรียกว่า BTC Rainbow Price Chart ซึ่งเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ที่สร้างขึ้นโดย BlockchainCenter และในครั้งนี้เขากล่าวว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ $15,400 จะเป็นจุดต่ำสุดของบิทคอยน์
Jiang Zhuoer ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอโปรเจ็คคริปโตมากมายเห็นด้วยกับ Eric Wall การคำนวณของเขาชี้ว่าตลาดหมีทั้งสามแห่งใช้เวลาเท่ากันจากระดับสูงสุดก่อนหน้ามายังระดับต่ำสุด ผู้เชี่ยวชาญรายนี้จึงสรุปว่าวัฎจักรสี่ปีนั้นทำงานจริง โดยเชื่อว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาตลาดขยับออกด้านข้างครั้งสุดท้ายของจุดต่ำสุดในตลาดหมี เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การล้มละลายของบริษัทคริปโตจะไม่ส่งผลต่อราคาอย่างมีนัยสำคัญอีกต่อไป ตัวเลขเชิงบวกชี้ว่า หากสถานการณ์ในปี 2018 เกิดขึ้นซ้ำรอย ราคา BTC อาจคงที่ไปอีกสองเดือนก่อนที่วัฎจักรกระทิงรอบถัดไปจะเริ่มขึ้น ในขณะเดียวกันนั้น เหตุการณ์ล้มละลายของบริษัทคริปโตจะไม่ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ดิจิทัลสกุลหลัก ๆ อีกต่อไป
นักยุทธศาสตร์จาก Standard Chartered บริษัทเครือการเงินระหว่างประเทศจากอังกฤษไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้โดยสิ้นเชิง พวกเขามองว่า “มีบริษัทคริปโตและตลาดแลกเปลี่ยนจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่กำลังเผชิญกับปัญหาสภาพคล่องไม่เพียงพอ นำไปสู่ภาวะล้มละลายและบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อไป” ซึ่งอาจพา BTC ลงไปที่ $5,000 ได้ในปีนี้
เขาว่ากันว่าความจริงนั้นมักอยู่ตรงกลาง ดังจุดยืนแบบ “ทั้งมองโลกในแง่ดีและแง่ร้าย” ของ Mike Novogratz ซีอีโอ Galaxy Digital เขากล่าวในบทสัมภาษณ์ล่าสุดกับ CNBC ว่า แนวโน้มของคริปโตเคอเรนซียังไม่ดีนัก แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป ราคา Bitcoin และ Ethereum คงที่ในช่วงหลังแม้ว่าจะมีข่าวร้าย นักเทรดที่ใช้อัตราทดปิดคำสั่งของพวกเขาในเดือนธันวาคม 2022 โดยสร้างสิ่งที่ผู้ประกอบการเรียกว่าเป็น “ตลาดสะอาด” ขึ้นมา นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดยังลดการใช้เงินและจะยังคงลดต่อไปเพื่อให้ผ่านช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไปได้ก่อน
Novogratz เน้นย้ำด้วยว่าปี 2023 จะเป็นปีที่กำหนดพัฒนาการในอนาคตของอุตสาหกรรมนี้ ในขณะเดียวกัน เขาชี้ถึงปัญหาที่คงอยู่ระหว่าง Gemini และ Genesis ซึ่งอาจสร้างสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์สำหรับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมด
อีกหนึ่งเรื่องที่น่ากังวลคือสถานการณ์ของ Binance ซึ่งรายงานล่าสุดจาก Forbes ชี้ว่า แพลตฟอร์มสูญเสียสินทรัพย์กว่า $12 พันล้านดอลลาร์เนื่องจากผู้ใช้งานยังคงถอนเงินออกอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีคำแถลงจากซีอีโอ Changpeng Zhao ของ Binance ว่าสถานการณ์สงบลงแล้ว แต่เงินยังคงไหลออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ปีใหม่ 2023 เพิ่งเริ่มขึ้น ยังมีเวลาเหลืออีกกว่า 11 เดือนครึ่ง ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าคำพยากรณ์ไหนที่จะมีความใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด ในระหว่างนี้ ณ ขณะที่เรากำลังเขียนบทวิเคราะห์นี้อยู่ (วันเสาร์ที่ 13 มกราคม) BTC/USD ได้ตัดผ่านแนว $20,000 และเทรดในโซน $20,500 ซึ่งมูลค่ารวมของตลาดคริปโตขณะนี้อยู่ที่ $0.968 ล้านล้านดอลลาร์ ($0.790 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา) ส่วนด้านดัชนี Crypto Fear & Greed Index ขยับขึ้นจาก 25 เป็น 46 จุดในเวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่ยังคงอยู่ในโซนความกลัว (Fear) แต่ก็ใกล้ถึงระดับปานกลาง (Neutral)
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ